บัญชีทรัพย์สินคืออะไร ใครมีหน้าที่ต้องยื่น- admin, May 25, 2024 การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เป็นส่วนหนึ่งในกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหน้าที่และอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบ และเปิดเผยผลการตรวจสอบต่อสาธารณะชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการตรวจสอบ และสร้างระบบการเมืองให้มีความโปร่งใส ขจัดปัญหาการทุจริต บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน คือ รายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ยื่นต้องแสดงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ที่มีอยู่จริงทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงทรัพย์สินที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครอง หรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และในกรณีทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง ของบุคคลอื่นหรือที่ให้บุคคลอื่นถือครองแทนต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ครอบครองหรือผู้ถือครองแทน ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้ยื่น คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย ทรัพย์สินและหนี้สินอะไรบ้างที่ต้องยื่น? รายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ต้องยื่นแสดงต่อคระกรรมการ ป.ป.ช. สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รายการทรัพย์สิน และรายการหนี้สิน รวมทั้งหมด 13 รายการ รายการทรัพย์สิน รวม 9 รายการ ประกอบด้วย 1.รายการเงินสด หมายถึง เงินสดในมือ (ทุกสกุลเงิน) ที่ไม่ได้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ทั้งในรูปของธนบัตร เหรียญกษาปณ์ หรือรายการที่เทียบเท่า เงินสด เช่น แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน ธนาณัติ เป็นต้น 2.รายการเงินฝาก หมายถึง เงินฝากทุกประเภท รวมถึงสลากออมทรัพย์ บัตรเงินฝาก ในธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น – ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารของรัฐและเอกชน – สถาบันการเงินอื่น หมายถึง สถาบันการเงินอื่น นอกจากธนาคารพาณิชย์ เช่น บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์ชุมชน เป็นต้น 3. รายการเงินลงทุน หมายถึง หลักทรัพย์รัฐบาลและที่รัฐบาลค้ำประกัน (พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ เป็นต้น) หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต (หุ้นสามัญ,หุ้นบุริมสิทธิ,หุ้นกู้,หน่วยลงทุน เป็นต้น) หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น หมายถึงหลักทรัพย์ของบริษัท ที่มิได้ทำการซื้อ/ขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เงินลงทุนในห้างหุ้นส่วน หรือกิจการค้าอื่น ๆ ที่ดำเนินธุรกิจเป็นส่วนตัว 4.รายการเงินให้กู้ยืม หมายถึง เงินที่ให้บุคคลหรือนิติบุคคลกู้ยืม โดยการแสดงจำนวนเงินรายการเงินให้กู้ยืม ให้แสดงยอดเงินกู้คงเหลือ ซึ่งแสดงยอดเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ณ วันที่มีหน้าที่แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน 5.รายการที่ดิน หมายถึง ที่ดินที่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย โดยต้องแสดงมูลค่าที่ดินปัจจุบัน (โดยประมาณ) โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน หรือของกรมธนารักษ์ หรือประมาณมูลค่าตามราคาตลาดที่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณดังกล่าว หรือราคาขณะที่ได้มา และให้แสดงมูลค่าของที่ดินแยกเป็นรายแปลง ทั้งนี้ในกรณีมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองร่วมกับบุคคลอื่น ให้แสดงมูลค่าเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น นอกจากนั้นในกรณีนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองต้องแสดงที่ดินเหล่านั้นด้วย 6.รายการโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง บ้านที่พักอาศัย และสิ่งปลูกสร้างอื่น เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ห้องชุด ตึกแถว ห้องแถว เรือนแถว โกดังเก็บของ เป็นต้น โดยต้องแสดงมูลค่าปัจจุบัน (โดยประมาณ) โดยใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ หรือประมาณมูลค่าตามราคาตามความเป็นจริงในสภาพปัจจุบัน หรือราคาขณะที่ได้มา และให้แสดงมูลค่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างแยกแต่ละหลัง โดยไม่รวมมูลค่าที่ดิน 7.รายการยานพาหนะ หมายถึง วัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ ยานพาหนะส่วนใหญ่สร้าง ขึ้นโดยมนุษย์ อาทิ จักรยาน รถยนต์ จักรยานยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบิน เป็นต้น 8.รายการสิทธิและสัมปทาน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทำประโยชน์เกี่ยวกับบริหารสาธารณะ หรือทรัพยากรธรรมชาติ จนถึงสิทธิที่รัฐ หรือเอกชนรับรอง และสามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปกรรม สิทธิตามสัญญา สัมปทานต่าง ๆ สิทธิการเช่าที่ดิน สิทธิสมาชิกสนามกอล์ฟ ประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สัญญาจองซื้อบ้านหรือห้องชุด เป็นต้น 9.รายการทรัพย์สินอื่น ทรัพย์สินอื่นของผู้ยื่น คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ละราย นอกจากทรัพย์สินที่ระบุในรายการที่ 1 – 8 โดยมีมูลค่าของทรัพย์สินทุกชนิดรวมกันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป เช่น อัญมณี เครื่องประดับ, ทองคำ, อาวุธปืน, นาฬิกา, งานศิลปะ โบราณวัตถุ พระเครื่อง พระบูชา หรือวัตถุมงคล เป็นต้น รายการหนี้สิน รวม 4 รายการ ประกอบด้วย 1.รายการเงินเบิกเกินบัญชี เงินเบิกเกินบัญชีจากธนาคารที่ค้างชำระ เช่น บัญชีกระแสรายวัน บัญชีเดินสะพัด หรือบัญชีสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ เป็นต้น และให้หมายความรวมถึง หนี้ค้างชำระบัตรเครดิตทุกประเภท รวมถึงบัตรเสริม หรือบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นมาจากบัตรหลัก โดยผู้ถือบัตรหลักเป็นผู้ขอบัตรเสริมให้กับผู้อื่น แต่เป็นการรวมวงเงินในบัตรหลักเดียวกัน 2.รายการเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น หมายถึง เงินกู้ทุกประเภทจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่ค้างชำระ สถาบันการเงินอื่น เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และบริษัทประกันชีวิต บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โรงรับจำนำ เป็นต้น 3.รายการหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หมายถึง หนี้สินหรือเงินกู้ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่มิใช่ธนาคารและสถาบันการเงินอื่น เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น รวมถึงหนี้สินจากการเช่าซื้อยานพาหนะด้วย 4.รายการหนี้สินอื่นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง หมายถึง หนี้สินอื่นนอกเหนือจาก เงินเบิกเกินบัญชี, เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น, หนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ อาทิ หนี้สินจากการกู้ยืม โดยมิได้ทำสัญญา หนี้สินตามคำพิพากษา เป็นต้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกอบด้วย 1.ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกวุฒิสภา, ข้าราชการการเมืองอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง, ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา เป็นต้น 2.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3.ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง, ผู้ตรวจการแผ่นดิน, คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 4.ตุลาการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป รวมทั้งผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไปตามประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เรื่อง การกำหนดตำแหน่งและเทียบตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่เรียกชื่ออย่างอื่น 5.ตุลาการศาลปกครอง คือ ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป รวมทั้งผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป ตามประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง เรื่อง การกำหนดตำแหน่งและเทียบตำแหน่งตุลาการศาลปกครองที่เรียกชื่ออย่างอื่น 6.อัยการ คือ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป 7. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง คือ ข้าราชการพลเรือน (หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล), ข้าราชการทหาร (ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ), ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ปลัดกรุงเทพมหานคร, กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ, หัวหน้าหน่วยงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ, ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ, ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง รวมถึงผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด 8.ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน คือ ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 9.ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด คือ กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาลนคร, เทศบาลเมือง, เทศบาลตําบล, องค์การบริหารส่วนตําบล เป็นต้น ตำแหน่งอื่นๆ นอกจากตำแหน่งทั้ง 9 กลุ่มข้างต้นแล้ว ยังมีเจ้าพนักงานและพนักงานรัฐที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเช่นกัน ทั้ง เจ้าพนักงานของรัฐ ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา103 และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยกองขึ้นไป ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน พนักงานไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีตำแหน่งและหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 158 ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ใน 2 กรณี คือ (1) กรณีเข้ารับตำแหน่ง (2) กรณีพ้นจากตำแหน่ง แต่ในกรณี ข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน รวมถึงเจ้าพนักงานของรัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ตามมาตรา 103 มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ใน 3 กรณี คือ (1) กรณีเข้ารับตำแหน่ง (2) กรณีทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ(3) กรณีพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ Sports News
ไม่เลือกปฏิบัติ! รฟท. ลั่นทวงคืนที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ รอฟังศาลฯตัดสิน April 22, 2024 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาข้อพิพาทการบุกรุกที่ดินว่า รฟท. ได้ดำเนินการแก้ปัญหาที่ดินของรถไฟทั่วประเทศอย่างจริงจัง บนพื้นฐานของความถูกต้อง โปร่งใส เป็นไปตามระเบียบของกฎหมาย มีความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ และยึดหลักธรรมาภิบาล และจริย… Read More > Read More
ทาบไทยจัดรอบคัดตบโอลิมปิกแต่ไร้เงิน April 12, 2024 “โค้ชอ๊อต”เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร เลขาธิการสหพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย (AVC)และ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้รับการทาบทามให้จัดวอลเลย์บอลรอบคัดเลือกโอลิมปิก แต่ติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ โดยกล่าวว่าคำพูดจาก Read More > Read More
“เจ้าท่า” เร่งแก้ปัญหาก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำป่าสัก “อยุธยา” April 22, 2024 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ตนพร้อมนายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้อำนวยการกองวิศวกรรม ผู้อำนวยการเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอยุธยาและนายกสมาคมผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ จัดประชุม… Read More > Read More